10 เหตุผลที่ทำให้คนไทย มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า 2023 โรคซึมเศร้าคืออะไร ?
10 เหตุผลที่ทำให้คนไทย มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า 2023 โรคซึมเศร้า เป็นหนึ่งในภาวะทางจิตใจที่ค่อนข้างพบอย่างแพร่หลายมากๆในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งมันจะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และ สังคมของผู้ป่วยอย่างมากเลยทีเดียว
ดังนั้นแล้วการเสริมสร้างความเข้าใจในโรคซึมเศร้า และ การให้การสนับสนุนเนื้อหาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการดูแล และ จัดการกับปัญหานี้ในประเทศไทย ดังนั้นแล้ว ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นกับคนหมู่มากในประเทศไทย รวมถึงสิ่งที่สำคัญในการรับมือกับปัญหานี้ อีกด้วยนั่นเอง
โรคซึมเศร้า เป็นภาวะทางจิตใจที่เกิดขึ้นอย่างธรรมชาติ สามารถเป็นผลจากปัจจัยหลากหลาย เช่น ปัจจัยทางชีวภาพ สภาพแวดล้อม และ ปัจจัยทางสังคม ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักจะมีอาการหลายอย่าง ที่แสดงออกทางอารมณ์ และ พฤติกรรม รวมถึงข้อคิดเกี่ยวกับตนเอง และ ความคิดเกี่ยวกับอนาคตที่ลบมากเกินไป
โรคซึมเศร้า ไม่ได้มีอาการเป็นระยะเวลาสั้นๆ เหมือนกับความเศร้าประจำวันที่ทุกคนเคยพบเมื่อเผชิญหน้า กับสถานการณ์ที่ยากลำบาก แต่มันเป็นอาการที่เกิดขึ้นซ้ำๆ มากขึ้น และเมื่อมีอาการนี้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่าสองสัปดาห์ขึ้นไป อาการนี้อาจส่งผลกระทบ ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และ การทำงาน
สำหรับประเทศไทย โรคซึมเศร้าได้รับการสำรวจ และ สังเกตในช่วงยุคสมัยที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาของปัญหานี้ ในสังคมไทย โรคซึมเศร้าในปัจจุบันนี้มีอยู่ในระดับที่สูงขึ้น และคาดการณ์ว่าจะยังคงสู่การเพิ่มขึ้นในอนาคต ปัญหานี้ไม่จำกัดที่ชนชั้นทางสังคม แต่ส่งผลกระทบต่อทุกกลุ่มและทุกวัย
10 สาเหตุของโรคซึมเศร้า และ ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้คนไทยเป็นโรคซึมเศร้า โดยไม่รู้ตัว
โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่ซับซ้อนและมีสาเหตุที่หลากหลาย ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดในการเกิดโรคนี้ แต่พบว่ามีปัจจัยที่อาจมีส่วนเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า ดังนี้
ความเครียด
สถานการณ์ที่ทำให้ความเครียดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และ ต่อเนื่องอาจเป็นปัจจัยที่เสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้า ซึ่งนี่เป็นสาเหตุ และปัจจัยหลักของหลายๆคนที่เป็นโรคซึมเศร้าเลยนั่นเอง
สภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น สภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานที่ตึงเครียดมากเกิน หรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันเมื่อเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่ อาจมีผลต่อความเสี่ยงของโรคซึมเศร้าได้
การสูญเสีย และ ความเครียด
การสูญเสียคนในครอบครัว หรือคนในความสัมพันธ์ที่สำคัญ อาจเป็นสาเหตุในการทำให้เกิดความเศร้า แน่นอนว่าเมื่อเกิดการสูญเสีย เราทุกคนต้องเศร้าอยู่แล้ว แต่บางคนอาจเศร้าเสียใจอย่างหนัก จนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้
ปัจจัยทางสังคม
ปัจจัยทางสังคม ที่อาจจะมีเพื่อนร่วมงาน เพื่อนในห้องเรียนที่มีความ TOXIC มากเกินไป อยู่ด้วยแล้วอาจจะไม่มี ความสุข แถมเครียด
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
สภาพเศรษฐกิจที่ไม่เสถียร หรือการมีปัญหาในการเงินอาจเป็นปัจจัยที่เสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยในปัจจุบัน เศรษฐกิจไม่ค่อยดี คนเป็นหนี้กันเยอะมาก
ปัจจัยทางสุขภาพ
ปัจจัยทางสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น การมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ อาจมีผลต่อความเสี่ยงของการเป็นโรคซึมเศร้า หรือเมื่อเรามีโรค อาจะทำให้เราเครียด วิตกกังวล จนกลายเป็นโรคซึมเศร้านั่นเอง
ปัจจัยความเป็นอยู่
ความสำเร็จในการทำงานหรือการศึกษา มีความสัมพันธ์กับ ความสุข และสภาพจิตใจ ความสำเร็จในด้านเหล่านี้อาจมีผลต่อความเสี่ยงของโรคซึมเศร้า
ปัจจัยทางบุคคล
ปัจจัยทางบุคคล เช่น รูปแบบความคิดที่เป็นลบ การเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น หรือความไม่รู้สึกพอใจต่อตนเอง อาจมีผลต่อความเสี่ยงของโรคซึมเศร้า
ปัจจัยทางพัฒนาการ
ปัจจัยทางพัฒนาการ เช่น สภาพแวดล้อมในการเติบโตและพัฒนาของเด็ก การได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นอาจมีผลต่อความเสี่ยงของโรคซึมเศร้าในอนาคต
ความเชื่อและค่านิยม
ความเชื่อและค่านิยมของสังคม มีผลต่อการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม และอาจมีผลต่อความเสี่ยงของโรคซึมเศร้าอีกด้วย
อาการของโรคซึมเศร้า มีอาการเป็นอย่างไรบ้าง คุณกำลังเป็นอยู่หรือไม่ มาเช็คกัน
อาการของโรคซึมเศร้าสามารถแบ่งออกเป็นหลายลักษณะ และอาจแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของโรคและบุคคลคนนั้น ๆ อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคซึมเศร้าม คือการมีความรู้สึกหดหู่และเศร้าใจที่สูงมากขึ้นกว่าปกติ เป็นระยะเวลาที่นาน มีอาการไม่สนใจสิ่งต่าง ๆ ที่เคยทำเป็นประจำ รวมถึงความสนใจในกิจกรรมที่ชอบอยู่ๆก็ไม่ชอบขึ้นมา
อาการของโรคซึมเศร้า มีความเปลี่ยนแปลงในนิสัยและพฤติกรรม ผู้ที่มีโรคซึมเศร้าอาจมีอาการขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยสนใจ การทำงานหรือเรื่องสำคัญในชีวิต อาจมีความขี้เกียจที่จะทำกิจกรรมประจำวัน หรือการเลิกลองทำสิ่งที่เคยชอบ มีอาการเบื่อ มีความคิดเชิงลบเกี่ยวกับตนเอง คิดว่าตนเองไม่สมบูรณ์หรือมีค่าน้อยกว่าคนอื่น ๆ
นอกจากนี้ท่านที่มีอาการของโรคซึมเศร้า อาจมีปัญหาในการหลับ บางท่านอาจนอนไม่หลับ แต่ในทางกลับกัน บางท่านอาจจะนอนหลับมากเกินไป ผู้ที่มีโรคซึมเศร้าอาจรู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา ไม่ค่อยมีพลังงานในการทำกิจกรรมประจำวัน อยากอยู่เฉยๆ อาจมีความกระวนกระวาย หงุดหงิด หรือเครียดเป็นประจำ ในกรณีที่รุนแรงลงอาจมีความคิดเกี่ยวกับการตายหรือการทำร้ายตนเอง
หากคุณหรือใครบางคนที่คุณรู้จักมีอาการเหล่านี้และคิดว่าอาจมีโรคซึมเศร้า ควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเพื่อรับการวินิจฉัยและการดูแลเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- มองโลกในแง่ร้าย และ มีอาการสิ้นหวัง หดหู่ รู้สึกซึมเศร้า
- คิดที่จะฆ่าตัวตาย หรือ รู้สึกไม่ค่อยมีแรง ไม่อยากมีชีวิตอยู่
- มีความเชื่องช้าทั้งการกระทำ และ การเคลื่อนไหวของร่างกาย
- ไม่ต้องการเข้าร่วมสังคม อยากอยู่คนเดียว ชอบแยกตัวออกมา
- ขาดความสามารถ ความยั้งคิดยั้งทำ และ การตัดสินใจ
สรุป แนวทางการรักษา และ ป้องกันโรคซึมเศร้า เพื่อให้คุณหายขาดจากโรคนี้
การรักษาโรคซึมเศร้า ในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีและแนวทาง อย่างไรก็ตาม การรักษาในแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค และ สภาพสถานการณ์ในปัจจุบันของผู้ป่วย นี่คือแนวทางการรักษาและป้องกันโรคซึมเศร้าเบื้องต้น ที่เราได้ทำการรวบรวมมา ดังนี้
- การให้การสนับสนุนจากบุคคลใกล้ชิด: การพูดคุยและการเปิดเผยความรู้สึกกับบุคคลที่ใกล้ชิด อาจช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และ ส่งเสริมการฟื้นตัวของผู้ป่วย
- การรับรู้และการทำสมาธิ: การเรียนรู้การควบคุมความคิด และ การเสริมสร้างการใช้สมาธิ สามารถช่วยลดความเครียด และ ความรู้สึกเศร้าในบางทีได้
- การรับรู้ภาวะความเครียดและการจัดการความเครียด : ควรที่จะออกกำลังกายเป็นประจำ การฝึกโยคะ หรือเทคนิคการหายใจ เพื่อลดความเครียด
- การรับรู้ถึงความคิดเชิงลบ: การให้ความสำคัญในการรับรู้ และ ตอบสนองต่อความคิดเชิงลบที่เกิดขึ้น สามารถช่วยให้ความรู้สึกดีขึ้น เราควรคิดบวกให้มากขึ้น
- การเข้ารับการรักษาจากนักจิตวิทยา หรือ นักจิตเวช: การรักษาด้วยนักจิตวิทยา หรือ นักจิตเวชสามารถช่วยในการวินิจฉัย และ ให้การดูแลเพิ่มเติมอย่างเป็นระบบ
เราสามารถ รักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา หรืออาจจะใช้วิธี การบำบัดพฤติกรรมและความคิด ได้เช่นกัน ช่วยโลก ช่วยชีวิต ควรระวังเมื่อพบว่ามีสัญญาณ หรืออ าการของโรคซึมเศร้า เนื่องจากโรคนี้สามารถมีผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพ และ คุณภาพชีวิตของบุคคล
หากมีอาการที่น่าเป็นห่วง หรือเข้าข่ายกับที่เราได้กล่าวไปเบื้องต้น เราอยากแนะนำว่าให้ท่านควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม ไม่ควรละเลย หากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น และควรคำนึงถึงการดูแลสุขภาพจิตเพื่อสร้างความสุขและความสมดุลในชีวิตของตัวท่านเองในแต่ละวัน
อ้างอิงโดย : Medparkhospital